#Automatic Transfer Switch หรือ #ATS
ระบบ Auto Matic Transfer Switch หรือเรียกย่อๆว่า ระบบ ATS เป็นระบบที่ใช้ในการสับเปลี่ยนแหล่งจ่ายที่ใช้งานตามปกติ เป็นระบบจากแหล่งจ่ายไฟภายในเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล ในสภาวะฉุกเฉินอย่างกรณีไฟจากการไฟฟ้าดับโดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบ ( Controller ) เป็นคล้ายสมองที่ใช้ในการรับรู้สภาวะและสั่งการ และมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการสับเข้า ออกทั้งสองแหล่งจ่ายนี้ โดยส่วนมากจะพบเป็นเซอร์กิตเบรคเกอร์ ( Circuit Breakers ) สองตัว มีหน้าที่รับคำสั่งจากอุปกรณ์ควบคุม
ตัวอย่างรูปดีเซลเจนเนอร์เรเตอร์ที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าเมื่อไฟจากการไฟฟ้าดับ
ตัวอย่างเซอร์กิตเบรคเกอร์สองตัวที่ทำหน้าที่ปลด หรือจ่ายแหล่งจ่ายไฟจากการไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ
ปัจจุบันเริ่มมีการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้กับ application งานระบบไฟฟ้ามากขึ้น สำหรับอุปกรณ์จำพวก #Change Over Switch
#Change Over Switch คือ สวิตซ์เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้า ยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น เมื่อไฟจากการไฟฟ้าดับ #Change Over Switch จะสับสวิตซ์ไปยังแหล่งจ่ายสำรองซึ่งอาจจะเป็นไฟจากแผงโซล่าห์ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้งานยังสามารถมีไฟฟ้าใช้งานได้ตามปกติ แบ่งออกตามการใช้งานเป็น 2 ประเภท คือ
- Manual Transfer Switch (MTS) สวิตซ์ที่ใช้เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบใช้มือสั่งการ
- Automatic Transfer Switch (ATS) สวิตซ์ที่ใช้เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ โดยอาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Motor Drive Switch นั่นเอง ให้เห็นภาพง่ายๆคือการเอาอุปกรณ์ MTS มาติด Motor Drive เพื่อใช้ในการสับเปลี่ยนของสวิตซ์แบบอัตโนมัตินั่นเอง
หลายท่านยังสงสัยว่าทำไมจึงจะต้องติดเจ้า #ATS นี้ด้วย และจะช่วยงานทางด้านไฟฟ้าเราอย่างไร ?
สำหรับงานบางประเภทนั้นมีความสำคัญ ไม่สามารถจะเกิดไฟดับ หรือไฟตกได้ เช่น งานทางด้าน Network สื่อสารต่างๆ , งานทางด้านการบิน อุปกรณ์ ATS นี้จะเป็นตัวลดความเสี่ยงและเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า เสมือนว่ามีตัว back up ไฟอีกชั้นหนึ่ง
นอกจากนี้ #ATS เองยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน application ในโรงงาน เช่น กลับทิศมอเตอร์เดินหน้า – ถอยหลัง หรือใช้แทน Latching relay สลับทำงานของปัมป์น้ำขนาดใหญ่ไม่ต้องเพิ่มแมกเนติกส์
ตัว #ATS เป็นแค่สวิตซ์แล้วจะทำงาน #AUTO ได้อย่างไร ?
ตัว #ATS นั้นจะทำงานได้แบบอัตโนมัติก็ต่อเมื่อต่อเข้ากับชุด Controller ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกว่า Automatic Transfer Switch Controllers ซึ่งปัจจุบัน จะควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์
ความสามารถของ #ATS Controller ทางด้านการควบคุมการสับสวิตซ์ โดยตรวจสอบและกำหนดค่าสภาวะในการทำงานของ ATS ได้ เช่น
- แรงดันปกติ,ความถี่ปกติ
- แรงดัน, ความถี่ เกิน(OVER)/ต่ำ(UNDER) และสามารถกำหนดฮีทเทอรีซีทในการกลับคืนสภาวะปกติได้ และการเซ็ตค่าสามารถเซ็ตแยกอิสระทั้ง ฝั่ง NORMAL และ EMERGENCY ได้
- สามารถปรับตั้งค่าเวลาในการทรานส์เฟอร์ได้(TIME DELAY) โดยค่าที่ต้องปรับตั้งได้มีดังนี้ MAIN FAILURE TIMER , DELAY ON TRANSFER TIMER, MAIN RETURN TIMER และ COOL DOWN TIMER เป็นต้น
ความสามารถของ ATS Controller ทางด้านการแสดงผล
- ATS Controller จะมี LED แสดงสภาวะการทำงานของหน้าสัมผัสสวิทช์ว่าอยู่ในตำแหน่งใด มีแหล่งจ่ายใดมาบ้าง และมี LED โชว์ FAULT เมื่อ เกิดเหตุการณ์ชุดควบคุมสั่งงานแล้วแต่ ATS ไม่ทำงานตามฟังค์ชั่น
- แสดงค่าแรงดันและความถี่ของทั้ง 2 แหล่งจ่ายได้และสามารถดูค่าทางไฟฟ้า เช่น ค่ากระแส, ค่ากำลังไฟฟ้า และค่าเพาวเวอร์แฟคเตอร์ เป็นต้น
อัพเดต Technology ใหม่ของ ATS Controller กันสักนิด
ปัจจุบันนอกจาก Function ข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากการแข่งขันเทคโนโลยีทางไฟฟ้าค่อนข้างสูง ผู้ผลิต ATS Controller ก็พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆให้ผู้ใช้ได้วิ่งตามกระแสอีกเช่นกัน
ยกตัวอย่าง
ATS Controller ของแบร์ด
- ฟังก์ชั่น Engine Exercise ฟังก์ชั่นสำหรับให้เครื่องยนต์กลไกต่างๆ มีการทำงานตามระยะเวลาที่ตั้งไว้บ้าง เพื่อให้พร้อมใช้งานทุกครั้งเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน (เสมือนการออกกำลังกายของเครื่องยนต์ค่ะ)
- การเลือกฟังก์ชั่น MANUAL สามารถสั่งงานโดยปุ่มกดที่ของ Controller เลย ไม่ต้องออกแรงบิดคันโยกเหมือนสมัยก่อน
- สามารถเชื่อมต่อแบบ RS232 หรือ RS-485 กับระบบ ซอฟท์แวร์ ได้ ผ่าน PROTOCOL สื่อสาร โดยสามารถดูสถานะการทำงานของ ATS เซ็ตค่าพารามิเตอร์ต่างๆ รวมถึงการสั่งควบคุม ผ่านระบบซอฟท์แวร์ได้
- ค่าที่ให้เซ็ตละเอียด หลากหลายมากขึ้น เช่น การเซ็ต Interlock time ของช่วงเวลาในการสั่ง Transfer Switches จากแหล่งจ่ายที่ 1 ไปแหล่งจ่ายที่ 2 เพื่อไม่ให้ไฟชนกัน
สำหรับการเลือกใช้ #ATS และชุด #Controller ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการจะใช้ฟังก์ชั่นไหน และราคาพอเหมาะหรือไม่ค่ะ