AVR
AVR จะมีหน้าที่รักษาระบบไฟฟ้าของเครื่องปั่นไฟของเราให้สมดุลย์ระหว่าง ความถี่ แรงดัน แล้วปรับตัวมันเองให้จ่ายกระแสจากตัวมันเองว่าจะมากหรือน้อยตามขนาดกระแสใช้งาน
เราสามารถจ่ายกระแสแบบ Overload สำหรับแบบ Self Excite ได้น้อยมากๆๆ แต่เราสามารถจ่ายแบบ OverLoad สำหรับGenerator แบบ PMG ได้ อาจสูงถึง 130% สำหรับGeneratorดีๆ

Generator แบบนี้เราเรียกกันว่า Self Excite หรือ Shut
.jpg)
เราเรียกวิธีนี้กันว่า "การกระตุ้นสนามแม่เหล็ก" .............เวลาที่ไฟไม่ออก
ซึ่ง Generator แบบนี้กำลังจะหายไปจากตลาด ด้วยข้อจำกัดของตัวมันเอง แต่มันอยู่กับชีวิตประจำวันของเราทุกคนที่มีรถยนต์ขับ เพราะมันคือ "ไดร์ชาร์ท" นั่นเอง
สำหรับ "ไดร์ชาร์ท" นั้น จะมีไฟออกตลอดเวลาเมื่อเครื่องสตาร์ท เพราะมันเป็นแม่เหล็กถาวร แทนแกนเหล็ก เราไม่สามารถเอาแม่เหล็กถาวรใส่ใน Generator ตัวใหญ่ๆของเราได้ ถึงสามารถใส่ได้ เราก็จะไม่สามารถคุมแรงดัน และคุมกระแสให้เป็นไปตามต้องการได้อีก...........ความเป็นจริงมันพอจะคุมได้อยู่ แต่ราคามันจะแพงมาก
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
Generator แบบพิมพ์นิยมในปัจจุบัน
.jpg)
นิยมเรียกกันว่า แบบ PMG
ข้อดีคือพร้อมใช้งานตลอดเวลาถ้า AVR กับ ไดโอดไม่เสีย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กรณีที่ AVR จะเสียส่วนใหญ่ ....เกี่ยวกับการใช้โหลดไม่เท่ากัน หรือที่เรียกว่า " ไม่Balance เฟส
เราจะเห็นว่าข้อดีของ PMGนั้นจะสามารถจ่ายกระแสแบบ Short Circuit ได้ถึง 300% โดยยังรักษาสภาพของการจ่ายไฟได้แบบชิวๆ ส่วนแบบ Selfนั้น เราShock Load หรือ Short Circuit แล้วGenerator เราจะหมดสภาพการจ่ายไฟฟ้าไปเลย!!
เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ถ้า AVR จ่ายกระแสเกินกว่าพิกัดของตัวมันเอง มันจะพัง (เช่นเดียวกัน Voltสูงมันก็พังด้วย)
**ถ้าโวลต์ต่ำ / กระแสสูง
**ถ้าความถี่ต่ำ / กระแสต่ำ
---------------------------------------------------------
จากความรู้เบื้องต้น สามารถประเมินได้ว่า สามารถรักษาความถี่ไว้ที่ 50Hz แรงดัน 380Vdc. (เครื่องGenerator บางยี่ห้ออาจได้ที่ 400Vdc.) และให้มันจ่ายกระแสไม่เกินพิกัดของตัวมันเอง ก็จะทำให้โอกาสเสียของ AVR เกือบจะไม่มี
วิธีลดความถี่ เพื่อประหยัดน้ำมันไม่เหมาะกับ AVRทั่วไป เพราะเราต้องใช้ความรู้ขั้นสูงในการปรับแต่งAVR และต้องเป็น AVR ที่ออกแบบมาให้สามารถทำ Volt/Hz ( หรือ เรียกว่า โวลต์เปอร์เฮิร์ท)
### การใช้งาน AVR ทั่วๆไป ที่พังมาจากการใช้ความถี่ต่ำ.... AVRจ่ายกระแสไฟสูงจะทำให้พัง
### ความถี่สูง AVR จ่ายVoltสูงก็จะทำให้เครื่องพัง
### Gen เราจ่ายLoad เกินพิกัด ก็ทำให้เครื่องพังได้เช่นกัน
_________________________________
การลงกราวน์ ที่ Gen .......สิ่งที่ต้องตรวจสอบ และคำนึงถึง คือ
1.การแบ่งLoad ของแต่ละเฟสให้ใกล้เคียงกันที่สุด
2.Generator ของเรา Short Tune หรือไม่
3.คุณภาพของ AVR ที่เราใช้มันดีหรือไม่
AVRที่ทำขายเองในบ้านเราส่วนใหญ่ เป็นแบบ Universal หรือใช้กับGenerator ในยี่ห้ออะไรก็ได้ เราสามารถป้องกัน AVR จากระบบการโดน "ฟ้าผ่า" หรือ "การShort" โดยการหา AVR ยี่ห้อดีๆ โดยราคาอาจแพงกว่า แต่คุ้มค่า เราแนะนำในยี่ห้อที่เราจำหน่าย หรือสอบถามได้ที่ Call Center ของบริษัทไทยคอนโทรลฯ โดยสินค้าของเรามีระบบSafety ป้องกันGeneratorให้ได้ครบ!! ไม่ว่าจะเป็นปัญหา Voltเกิน หรือต่ำ , ความถี่เกิน/ต่ำ, กระแสเกิน, โหลดบาลานส์ (Load Balance), Ground fault (กราวนด์ ฟอร์ด) สามารถซัพพอร์ตไดชาร์ตได้ในยี่ห้อ Stamford , Lerroy-sommer, Marathon, CAT
AVR แบบรุ่นดั่งเดิม(Original) หรือของแท้ หรือ After Market (ของแท้เหมือนกันแต่ผู้ผลิตAVR ติดสัญญาจึงทำอีกเวอร์ชั่นออกมาขายทดแทน)
ท่านผู้ที่ใช้แบบเร่ง/เบารอบเครื่องยนต์ด้วยมือ เพื่อรักษาความถี่ ก็เปลี่ยนเป็นแบบAuto แบบไฟฟ้าหรือ Machanic ก็ได้ เพราะมันจะรักษารอบเครื่องให้คงที่ทุกๆกระแสที่จ่ายโหลด (แต่อย่าลืมว่า....มันก็ต้องพังเช่นกัน เมื่อถึงเวลาหรือหมดอายุการใช้งาน)